วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิทธิมนุษยชล

สิทธิมนุษยชล

  ประเภทของสิทธิมนุษยชน แบ่งได้ 5 ประเภท ทั้งนี้ เป็นไปตาม Universal Declaration of Human Rights ได้แก่
        1. สิทธิพลเมือง (Civil Rights) ได้แก่ สิทธิในชีวิตและร่างกาย เสรีภาพและความมั่นคงในชีวิต ไม่ถูกทรมาน ไม่ถูกทำร้ายหรือฆ่า สิทธิในความเสมอภาคต่อหน้ากฎหมาย สิทธิที่จะได้รับสัญชาติ เป็นต้น
        2. สิทธิทางการเมือง (Political Rights) ได้แก่ สิทธิในการมีส่วนร่วมกับรัฐในการดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เสรีภาพในการรวมกลุ่มเป็นพรรคการเมือง เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ สิทธิการเลือกตั้งอย่างเสรี
        3. สิทธิทางสังคม (Social Rights) ได้แก่ สิทธิการได้รับการศึกษา สิทธิการได้รับหลักประกันด้านสุขภาพ ได้รับการพัฒนาบุคลิกภาพอย่างเต็มที่ ได้รับความมั่นคงทางสังคม มีเสรีภาพในการเลือกคู่ครอง และสร้างครอบครัว เป็นต้น
        4. สิทธิทางเศรษฐกิจ (Economic Rights) ได้แก่ สิทธิการมีงานทำ ได้เลือกงานอย่างอิสระ และได้รับค่าจ้างที่เหมาะสม สิทธิในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน เป็นต้น
         5. สิทธิทางวัฒนธรรม (Cultural Rights) ได้แก่ การมีเสรีภาพในการใช้ภาษาหรือสื่อความหมายในภาษาท้องถิ่นของตน มีเสรีภาพในการแต่งกายตามวัฒนธรรม การปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นของตน การปฏิบัติตามความเชื่อทางศาสนา การพักผ่อนหย่อนใจทางศิลปวัฒนธรรมและการบันเทิงได้โดยไม่มีใครมาบีบบังคับ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


ความเป็นธรรม

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความเป็นธรรม

ความเป็นธรรมในการจัดการน้ำท่วม” ข้อพิพาทของสังคมที่ยังไร้ทางออก
แม้ปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่จะเริ่มคลีคลายลงบางแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ กทม. จากการนำ “บิ๊กแบ๊ก” มาทำคันกั้นน้ำขนาดใหญ่ใช้ชะลอน้ำให้เข้าเมืองน้อยลง เพื่อให้การระบายน้ำเมืองชั้นในทำได้เร็วขึ้น และหลายพื้นที่ก็จัดงาน “บิ๊กคลีนนิ่งเดย์” อย่างยิ่งใหญ่ประกาศชัยชนะ ขณะที่พื้นที่เหนือแนวคันกั้นน้ำและพื้นที่ด้านบน กทม.ที่ก่อนหน้านี้เคยร่วมทุกข์ร่วมสุข ถูกน้ำท่วมเหมือนกัน แต่กลับถูกลืม ซ้ำยังขยายเวลาความเดือนร้อนของประชาชนเพิ่มขึ้น จนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งของสังคมไทย ที่ต้องมาทะเลาะกัน เพราะความไม่เป็นธรรมในการแก้ปัญหาของรัฐบาลแท้ๆ โดยในงานสัมมนาสาธารณะเรื่อง“ภัยพิบัติน้ำท่วมกับมิติใหม่ของสังคม”ได้สะท้อนปัญหาความไม่เป็นธรรมจากการแก้ปัญหาน้ำท่วมครั้งนี้ได้ชัดเจนขึ้นหลายมิติ
โดย รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล คณบดีคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มองว่าแม้ประเทศไทยจะประสบอุทกภัยครั้งใหญ่หลายครั้งหรือเกิดภัยแล้งก็ตาม แต่ทุกครั้งก็ยังเห็น ความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องของการแบ่งปันทรัพยากร ที่แก้ปัญหาอย่างไรก็ไม่เกิดความเป็นธรรม เช่นผู้ที่ใช้ทรัยากรมากก็คือผู้ที่มีกำลังทรัพย์มากกว่า แต่เราไม่เคยแบ่งปันให้เท่าเทียบกันกับผู้ที่มีกำลังทรัพย์น้อยกว่า ซึ่งสถานการณ์ปีนี้ยิ่งทำให้ภาพนี้ชัดเจนขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพของการแบ่งปันทรัพยากรที่เท่าเทียมกันและไม่เท่าเทียมกัน ไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรมของความเท่าเทียมกันเลย
“ที่ผ่านมามีอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิในการใช้ทรัพยากรของชุมชนท้องถิ่นต้องคำนึงถึงผู้ที่อยู่อาศัยในท้องถิ่นนั้นๆ อย่างกรณีศึกษาจากแม่มูลมั่นยืน จากงานวิจัยไทบ้าน ซึ่งรัฐไม่เคยฟังเสียงของความพอดีพอเพียงจากประชาชนที่ไม่มีอำนาจ แม้กระทั้งขณะนี้รัฐก็ปล่อยให้น้ำท่วมขังบ้านเรือนประชาชนนานเกินสองเดือน และยังแก้ปัญหากันแบบมาก่อนลงที่หลัง ดังเช่น ชาวจ.ปทุมธานี นนทบุรี และชาวบางปะหัน และพื้นที่อื่นๆที่ถูกน้ำท่วมก่อน กทม. แต่น้ำลดลงที่หลังกทม.เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าความเป็นรูปธรรมของความเป็นธรรม มันอยู่ที่ไหนกันแน่”
โดยความเป็นธรรมในการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเท่าเทียมกัน รศ.ดร.กัมปนาท มองว่าต้องมีความเท่าเทียมใน 3 ด้าน คือ 1.ความเท่าเทียมด้านวิศวกรรม ที่ใช้เกณฑ์ด้านตึกรามบ้านช่องและสิ่งปลุกสร้างเป็นตัวชี้วัด เช่นถ้าชุมชนหนึ่งท่วมเท่านี้ และอีกชุมชนใกล้เคียงท่วมเท่านี้ได้ไหมหรือการแบ่งปริมาณน้ำระบายไปทางซ้าย 2 วัน อีก 2 วันระบายไปทางขวา เท่าๆกันได้หรือไม่  2.ความเท่าเทียมด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ใช้เกณฑ์มูลค่าความเสียหายเป็นตัวชี้วัด คือดูว่าถ้าน้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจจะเสียหายเท่าไหร และถ้าท่วมพื้นที่เกษตรแล้วอะไรเสียหายมากกว่ากัน และ 3.ความเท่าเทียมด้านสังคม ที่ใช้ความเป็นมนุษย์ ในแง่ของการมีสิทธิ์เท่าเทียมกันเป็นตัวชี้วัด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือรวยเราก็เท่าเทียมกัน ดังนั้น ในเรื่องของความเป็นมนุษย์ กรณีแก้ปัญหาน้ำท่วมจะมีการสลับสับเปลี่ยนกันน้ำท่วมบ้างได้ไหม ไม่ใช่คนรวยต้องแห้งอย่างเดียว แล้วคนจนต้องท่วมอย่างเดียว ความขัดแย้งของมวลชนก็จะเกิดขึ้นทันที อย่างที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้
“ที่ผ่านมาปัญหามาจากการจัดการน้ำที่แยกส่วน เป็นตำบล อำเภอ จังหวัด ซึ่งในทางวิชาการเรื่องของการจัดการน้ำแบบบูรณาการ ลุ่มน้ำก็ต้องจัดการลุ่มน้ำที่เชื่อมโยมกันทั้งหมดเป็นหลัก เช่น ปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน ที่ถือเป็นหนึ่งลุ่มน้ำใหญ่ แต่ที่ผ่านมามีการแบ่งเขตลุ่มน้ำออกไปเป็นชิ้นๆ เช่น การแก้ปัญหาน้ำท่วมเฉพาะกทม.ก็เป็นส่วนหนึ่ง การแก้ปัญหาของรัฐบาลก็ส่วนหนึ่ง และของกรมชลประทานก็อีกส่วนหนึ่ง จึงไม่ใช่สิ่งที่แก้ปัญหาได้จริง ดังนั้น ต้องมีรูปแบบองค์กรที่ชัดเจนร่วมกันทั้งหมดที่ต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการน้ำใหม่ทั้งระบบ โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่นั้นๆรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงในการแก้ปัญหาด้วย ความขัดแย้งจากมวลชนก็จะไม่เกิด”
ด้าน น.ส.สมลักษณ์ หุตานุวัตร ผู้ทำงานกลุ่มเครือข่ายสิทธิมนุษยชนและศูนย์อาสาฝ่าน้ำท่วม กล่าวถึง ความยุติธรรมที่ยังมีคนน้ำท่วมและมีการฉลองบิ๊กคลีนนิ่งเดย์ว่า เป็นความอยุติธรรมที่สื่อมวลชลมีส่วนร่วม ในการทำให้เรื่องของความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างไม่ละอายแก่ใจ เพราะในความไร้น้ำใจที่สื่อมวลชนเองก็ไม่มีมนุษยธรรมของตัวเอง เพราะถ้าสื่อไม่ออกสื่อเรื่องขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้น และความเจ็บแค้นของคนที่ยังแช่น้ำอยู่ก็จะไม่เกิดขึ้นด้วย ยังรวมไปถึงความไม่ยุติธรรมในการฟื้นฟูเยียวยาในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมมีโครงสร้างมากมายในการเข้าไปรองรับการกู้อุตสาหกรรม แต่ขณะนี้ก็ยังไม่ปรากฎการโครงสร้างในการกอบกู้ภาคเกษตรกรรมเลยแม้แต่นิดเดียวจึงกลายเป็นคำถามว่าความยุติธรรมอยู่ที่ไหน
“ การปล่อยให้ชาวประมงรายย่อยตามชายน้ำที่กำลังเน่าเสีย ชาวบ้านต้องสูญเสียอาชีพและหอยที่ชาวบบ้านเลี้ยงที่อ่าวไทยต้องตายเกลี้ยง โดยที่ชาวบ้านไม่มีโอกาสรู้ล่วงหน้า ไม่มีโอกาสเตรียมตัว มองว่าเป็นความอยุติธรรมของโครงสร้างสังคมไทยที่ถูกปล่อยปละละเลย ซึ่งเรายอมไม่ได้อีกแล้ว แม้แต่สื่อมวลชนก็มีน้อยมากที่จะให้ความสนใจกับเรื่องนี้ และนี่คือความอยุติธรรมที่เราเห็นได้จากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้”
ขณะที่ น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา มูลนิธิชีววิถี ให้ความเห็นว่า ที่ผ่านมามีโจทย์เรื่องการจัดสรรน้ำมาตลอด จนปัจจุบันเห็นได้ชัดเจนว่า การให้ความยุติธรรมในเรื่องการจัดสรรน้ำกับภาคการเกษตรมีน้อยมากและให้ความสำคัญลำดับท้ายๆเพราะต้องถูกใช้ไปในส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นธรรม ขณะที่เกิดปัญหาอุทกภัยในการจัดสรรน้ำท่วม กลับให้ภาคการเกษตรเป็นพื้นที่รับน้ำท่วมก่อนใครทั้งๆที่พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งยังเป็นแหล่งอาหารสำคัญที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่กลับไม่ถูกปกป้อง
“ มองว่าปัญหาความขัดแย้งของชาวบ้านกับชาวบ้าน รัฐกับชาวบ้าน ชาวบ้านกับเอกชน บนคันกระสอบทราย หรือเขื่อนกั้นน้ำ เกิดจากความไม่ยุติธรรมในการจัดสรรคน้ำท่วมที่เน้นให้เมืองหลวงรอดพ้นภัยพิบัติ ทั้งๆเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ แต่ก็ยังมีการก่อสร้างอะไรมากมาย มากระจุกตัวจนขวางทางน้ำ เพียงเพราะต้องการให้เป็นเมืองท่า อย่างเช่น เอานิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มาตั้ง สร้างศูนย์โลจิสติก แม้แต่อุทกภัยครั้งนี้ก็สร้างเขื่อนล้อมตัวเองและเอาน้ำไปให้พื้นที่อื่น ซึ่งหมายถึงพื้นที่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นปัญหาจากการจัดน้ำหนักในการดูแลพื้นที่ที่ต่างกัน”
โดยเธอยังบอกอีกว่า เหตุการณ์น้ำท่วมแม้จะมีปัญหาความไม่เป็นธรรมต่อภาคการเกษตร แต่ก็อาจทำให้คนเริ่มเข้าใจมากขึ้น ถึงเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร หลังจากเคยมีการพูดถึงแต่ไม่เคยมีใครคาดคิดว่าจะเกิดขึ้นแล้วกับประเทศไทยในยามวิกฤติที่คนมีเงินก็หาซื้อไม่ได้ อย่างเช่นน้ำดื่มและอาหารแห้งต่างๆ ที่ถูกกักตุนจนบางพื้นที่ขาดแคลน แม้ว่าน้ำจะยังไม่ท่วมก็ตาม และเมื่อศูนย์การกระจายอาหาร 6 บริษัทใหญ่ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมใน จ.พระนครศรีอยุธยาถูกน้ำท่วมก็เหมือนเป็นการตัดสายพานขนส่งอาหารกว่า 90 % ถูกส่งต่อมายังห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทำให้สิ้นค้าขาดแคลน แต่ถ้ายังมีร้านโชว์หวยเล็กๆตามจุดต่างๆก็เชื่อว่าร้านค้าเหล่านี้ก็จะมีบทบาทมากขึ้น สะท้อนถึงความไม่เป็นธรรมในแง่ของเศรษฐกิจที่ผูกขาดสินค้าไว้กับรายใหญ่ๆ
“ในการแก้ปัญหาจากน้ำท่วม รัฐบาลต้องวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาให้ชัดเจนจึงจะสามารถกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาได้ แต่ครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นว่าหน่วยงานต่างๆภายใต้รัฐบาล ทำงานไปคนละทิศคนละทาง และยิ่งนานวันก็ยิ่งแก้ปัญหาไม่ได้ เมื่อแก้ไม่ได้ ก็ตั้งองค์กรใหม่มาแก้ปัญหาน้ำท่วมเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ต่างคนต่างคิดทำงานกันไปคนละเรื่อง นานวันก็ยิ่งบานปลาย เช่นบอกว่าจะแก้ปัญหาน้ำท่วมกทม. แต่กลับไม่เคยพูดถึงบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ด้านบน ที่แช่น้ำนานเป็นเดือนๆ ชาวบบ้านถูกน้ำท่วมก็ว่าเลวร้ายแล้ว แต่ยังมีความขัดแย้ง ความคับแค้นใจมาซ้ำเติมปัญหาให้แย่ไปอีก”
แม้เสียงจากความไม่เป็นธรรมจะถูกพูดถึงและถูกทวงถามจากประชาชนที่ยังได้รับความเดือนร้อนจากน้ำท่วมจะยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นบทเรียนราคาแพงที่รัฐบาลต้องมองปัญหานี้ให้ทะลุปรุโปร่ง ในหลายมิติมากขึ้นไม่ใช่เพียงต้องการแก้น้ำท่วมด้วยการทำให้บางพื้นที่มีน้ำแห้งเท่านั้น แต่ยังมีผลกระทบสืบเนื่องอื่นๆอีกมากมาย ที่สังคมไทยยังต้องการทางออก และยังรอค่อยคำตอบนี้อยู่ !!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น


การพึ่งพาอาศัยกัน

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การพึ่งพาอาศัยกัน

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence)

            การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependence) ได้แก่ ความเข้าใจตระหนักรู้ถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกันของผู้คน ถิ่นฐาน เศรษฐกิจ ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เข้าใจสภาวการณ์ในระดับโลก สามารถเรียนรู้ที่จะจัดการกับความซับซ้อนได้

การพึ่งพากัน 

            การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของประเทศต่างๆในด้านการรวมตัวเป็นองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจก็ เนื่องมาจากความมั่นคงและสวัสดิการของประเทศ ซึ่งการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันได้เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วในภาวะเศรษฐกิจที่มีการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเน้นภาคธุรกิจหรือ ผลผลิตทางภาคอุตสาหกรรม ยิ่งกว่านั้น เมื่อกระบวนการผลิตใช้เทคโนโลยีสูงขึ้น ย่อมทำให้ สินค้าและบริการออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งระบบการค้า มักจะถือกันว่าเป็นรูปแบบ ของกระบวนการ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ อัตราส่วนของการค้าต่อผลิตภัณฑ์ มวลรวมประชาชาติ ขยายตัวมากขึ้นย่อมหมายถึงประเทศนั้น มีการพึ่งพิงระบบการค้า ระหว่างประเทศมากขึ้นด้วย ทำให้การเจริญเติบโตของประเทศต้องอาศัยการพึ่งพากันทางการค้า และการลงทุน ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ 

             ตลอดจนมีการแลกเปลี่ยน เทคโนโลยีและทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ประเทศสมาชิกในองค์กรได้รับผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ซึ่งสามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆได้ เช่น ความร่วมมือกันในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว และได้รับประโยชน์จากการรวมกลุ่มในด้าน การพึ่งพาอาศัยกัน เช่น แต่ละประเทศจะผลิตสินค้าหรือใช้ปัจจัยการผลิตที่ประเทศตนเอง สามารถผลิตได้ กล่าวคือ ประเทศไทยผลิตเกลือหินและโซดาแอช อินโดนีเซียและ มาเลเซียผลิตปุ๋ยยูเรีย สิงคโปร์ผลิตเครื่องยนต์ดีเซล และฟิลิปปินส์ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต ซึ่งแต่ละประเทศมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ทำให้ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศได้มากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจมีการขยายตัวมากขึ้นด้วย ดังนั้นการพึ่งพาอาศัยกันในรูปของการร่วมมือทางเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ ก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่าง จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด และองค์กรที่มีความเข้มแข็งสามารถต่อรองทางการค้ากับประเทศต่างๆได้

การอยู่ร่วมกันในสังคม             การอยู่ร่วมกันในชุมชนดั้งเดิมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นญาติพี่น้องไม่กี่ตระกูล ซึ่งได้อพยพ ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ หรือสืบทอดบรรพบุรุษจนนับญาติกันได้ทั้งชุมชน มีคนเฒ่าคนแก่ที่ชาวบ้าน เคารพนับถือเป็นผู้นำ หน้าที่ของผู้นำไม่ใช่การ สั่ง แต่เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา มีความแม่นยำในกฏระเบียบประเพณีการดำเนินชีวิต ตัดสินไกล่เกลี่ยหากเกิดความขัดแย้ง ช่วยกันแก้ไข ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น"ผิดผี" คือ ผีของบรรพบุรุษ ผู้ซึ่งได้สร้างกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ไว้ เช่น กรณีที่ชายหนุ่มถูกเนื้อ ต้องตัวหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน เป็นต้น หากเกิด การผิดผีขึ้นมา ก็ต้องมีพิธีกรรมขอขมา โดยมี คนเฒ่าคนแก่เป็นตัวแทนของบรรพบุรุษ มีการ ว่ากล่าวสั่งสอนและชดเชยการทำผิดนั้นตามกฎเกณฑ์ที่วางไว้

            ชาวบ้านอยู่อย่างพึ่งพาอาศัยกัน ยามเจ็บไข้ได้ป่วย ยามเกิดอุบัติเหตุเภทภัย ยามที่โจร ขโมยวัวควายข้าวของ การช่วยเหลือกันทำงาน ที่เรียกกันว่า การลงแขก ทั้งแรงกายแรงใจ ที่มีอยู่ก็จะแบ่งปันช่วยเหลือเอื้ออาทรกัน การ แลกเปลี่ยนสิ่งของ อาหารการกิน และอื่น ๆ จึงเกี่ยวข้องกับวิถีของชุมชน ชาวบ้านช่วยกัน เก็บเกี่ยวข้าว สร้างบ้าน หรืองานอื่นที่ต้องการ คนมาก ๆ เพื่อจะได้เสร็จโดยเร็ว ไม่มีการจ้าง กรณีตัวอย่างจากการปลูกข้าวของชาวบ้านถ้าปีหนึ่งชาวนาปลูกข้าวได้ผลดี ผลิตผลที่ได้จะ ใช้เพื่อการบริโภคในครอบครัว ทำบุญที่วัด เผื่อแผ่ให้พี่น้องที่ขาดแคลน แลกของ และเก็บ ไว้เผื่อว่าปีหน้าฝนอาจแล้ง น้ำอาจท่วม ผลิตผลอาจไม่ดี


            ในชุมชนต่าง ๆ จะมีผู้มีความรู้ความสามารถหลากหลาย บางคนเก่งทางการรักษาโรค บางคนทางการเพาะปลูกพืช บางคนทางการเลี้ยง สัตว์ บางคนทางด้านดนตรีการละเล่น บางคน เก่งทางด้านพิธีกรรม คนเหล่านี้ต่างก็ใช้ความ


สามารถเพื่อประโยชน์ของชุมชน โดยไม่ถือเป็น อาชีพที่มีค่าตอบแทน อย่างมากก็มี "ค่าครู"แต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งปกติแล้ว เงินจำนวนนั้น ก็ใช้สำหรับเครื่องมือประกอบพิธีกรรม หรือ เพื่อทำบุญที่วัดมากกว่าที่หมอยาหรือบุคคลผู้นั้น


            จะเก็บไว้ใช้เอง เพราะแท้ที่จริงแล้ว "วิชา" ที่ ครูถ่ายทอดมาให้แก่ลูกศิษย์จะต้องนำไปใช้เพื่อ ประโยชน์แก่สังคม ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วน ตัว การตอบแทนจึงไม่ใช่เงินหรือสิ่งของเสมอไป แต่เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกันโดยวิธีการต่าง ๆ 


ด้วยวิถีชีวิตเช่นนี้ จึงมีคำถามเพื่อเป็นการ สอนคนรุ่นหลังว่า ถ้าหากคนหนึ่งจับปลาช่อน ตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว ทำอย่างไรจึงจะกินได้ทั้งปี คนสมัยนี้อาจจะบอกว่า ทำปลาเค็ม ปลาร้า หรือ เก็บรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่คำตอบที่ถูกต้อง คือ แบ่งปันให้พี่น้องเพื่อนบ้าน เพราะเมื่อ เขาได้ปลา เขาก็จะทำกับเราเช่นเดียวกัน
ชีวิตทางสังคมของหมู่บ้านมีศูนย์กลางอยู่ที่วัด กิจกรรมของส่วนรวมจะทำกันที่วัด งานบุญประเพณีต่าง ๆ ตลอดจนการละเล่นมหรสพ พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจ เป็นครูที่สอนลูก หลานผู้ชายซึ่งไปรับใช้พระสงฆ์ หรือ "บวชเรียน"


            ทั้งนี้เพราะก่อนนี้ยังไม่มีโรงเรียน วัดจึงเป็นทั้งโรงเรียนและหอประชุมเพื่อกิจกรรมต่าง ๆ ต่อเมื่อโรงเรียนมีขึ้นและแยกออกจากวัด บทบาท ของวัดและของพระสงฆ์จึงเปลี่ยนไป
งานบุญประเพณีในชุมชนแต่ก่อนมีอยู่ทุก เดือน ต่อมาก็ลดลงไปหรือสองสามหมู่บ้านร่วมกันจัด หรือผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน เช่น งานเทศน์มหาชาติ ซึ่งเป็นงานใหญ่ หมู่บ้าน เล็ก ๆ ไม่อาจจะจัดได้ทุกปี งานเหล่านี้มีทั้งความเชื่อ พิธีกรรมและความสนุกสนาน ซึ่งชุมชน แสดงออกร่วมกัน

การพัฒนาที่ยั่งยืน

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555การพัฒนาที่ยั่งยืน
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน


                            ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ  เนื่องจาก
จำนวนประชากรมนุษย์ในโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทาง
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้เกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ  ตามมา  แต่การพัฒนาของ
ประเทศต่าง ๆ  ทั่วโลกที่ผ่านมาเน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มุ่งการเจริญเติบโตของภาค
อุตสาหกรรม  และการส่งเสริมการบริโภคของประชากรภายในประเทศให้สูงขึ้น  การพัฒนาดังกล่าวจึงเป็นการเร่งรัดให้มีการนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว   จนกระทั่งทำให้สภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวมเร็วมากเกินกว่าระดับการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ  จนเป็นเหตุให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นภายในประเทศของตน  ด้วยเหตุนี้ทุกประเทศในโลกจึงหันมาให้ความสนใจที่จะช่วยกันและร่วมมือกันป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว  ซึ่งกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประเทศต่าง  ๆ    ให้ความสนใจมากที่สุดในปัจจุบัน  คือ  การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน  (Environment  sustainable  development) 
         สำหรับประเทศไทยได้เริ่มให้ความสนใจในแนวคิด เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตั้งแต่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่  7  (พ.ศ. 2535 - 2539)    โดยเน้นการพัฒนาชนบทให้มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและเน้นการกระจายรายได้     ควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

Posted 5 days ago by ดวงดาว สินทบ

ค่านิยมและการรับรู้สัมผัส

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ค่านิยมและการรับรู้สัมผัส

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

            ค่านิยม หมายถึง สิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปราถนาต้องการให้เป็นเป้าหมายของสังคมและปลูกฝังให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินชีวิตควรหลีกเลี่ยง เช่น ความยากจน สิ่งมีคุณค่า น่าปราถนา หรือนำความสุขมาให้มีทั้งเป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ
          
            ค่านิยมเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาได้เช่นเดียวกันกับความเชื่อและมีความแตกต่างกันไปตามสังคมและวัฒนธรรมค่านิยมส่วนใหญเนื่องมาจากความเชื่อ
          
            ค่านิยมไทยใหม่จะมีลักษณะสากลมากขึ้น เช่น นิยมยกย่องวัตถุ ความมั่นคง ความหรูหราฟุ่มเฟือย ความเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ไม่ยึดมั่นในประเพณี ชื่นชมวัฒนธรรมตะวันตก และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือ อำนาจและเกียรติยศชื่อเสียง การดูแลรักษาสุขภาพด้วยโภชนาการ และการออกกำลังกาย
        การรับรู้/การสัมผัสรู้เป็นปัจจัย 1 ใน 3 ปัจจัยการรู้ (awareness) ที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค การรับรู้/การสัมผัสรู้เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิธีการที่บุคคลมีการมองเห็นหรือพิจารณาเกี่ยวกับตนเองและโลกของบุคคลว่าเป็นอย่างไร ซึ่งการรับรู้เป็นปัจจัยหนึ่งที่แยกออกไปไม่ได้จากพื้นฐานอื่นๆ เนื่องจากความต้องการของบุคคลและแรงจูงใจต่างๆ คือสิ่งที่บุคคลได้รับรู้และทำให้บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งก็เพราะบุคคลมีการรับรู้/การสัมผัสรู้ที่แตกต่างกัน แะนั้นในบทนี้จึงเป็นเรื่องพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นผลมาจากการรับรู้/การสัมผัสรู้ ซึ่งจำเป็นต้องทราบตั้งแต่ความหมาย ผลกระทบของการรับรู้ที่มีต่อการตลาด คุณลักษณะของการรับรู้ที่มีผลต่อผู้บริโภค แนวความคิดที่สำคัญที่ว่าด้วยการเลือกสรรสิ่งที่ได้รับรู้ ตลอดทั้งกระบวนการรับรู้ของผู้บริโภค และปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภคอันจะเป็นประโยชน์ต่อนักการตลาดที่จะได้เข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคแต่ละคนที่แตกต่างกันเพื่อนำไปสู่การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดให้ดียิ่งขึ้นได้
     ความหมายของการรับรู้/การสัมผัสรู้ (Definition of perception)
     การรับรู้ (perception) สามารถอธิบายได้อย่างสั้นๆ คือ วิธีการที่บุคคลมองโลกที่อยู่รอบๆ ตังของบุคคล ฉะนั้นบุคคล 2 คนอาจมีความคิดต่อตัวกระตุ้นอย่างเดียวกันภายใต้เงื่อนไขเดียวกัน แต่บุคคลทั้ง 2 อาจมีวิธีการยอมรับถึงตัวกระตุ้น (recognize) การเลือกสรร (select) การประมวล (organize) และการตีความ (interpret) เกี่ยวกับตัวกระตุ้นดังกล่าวไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ยังขึ้นกับพื้นฐานของกระบวนการของบุคคลแต่ละคนเกี่ยวกับความต้องการ ค่านิยม การคาดหวัง และปัจจัยอื่นๆ ดังนั้น การรับรู้สามารถให้คำจำกัดความได้ดังนี้
การรับรู้ (perception) หมายถึง “กระบวนการที่บุคคลแต่ละคนมีการเลือก การประมวลและการตีความเกี่ยวกับตัวกระตุ้นออกมาให้ความหมายและได้ภาพของโลกที่มีเนื้อหา” (Schiffman and Kanuk .19991:146)
นอกจากนี้ การรับรู้ยังสามารถอธิบายได้อย่างง่ายๆ คือหมายถึง “กระบวนการการตีความที่ผ่านประสาทสัมผัสใดๆ โดยตรง” ซึ่งจากความหมายนี้คำที่จะสื่อความหมายเดียวกับการรับรู้ การสัมผัสรู้ อันเป็นการรู้ที่เกิดจากการรับความรู้สึกเข้ามาทางประสาทสัมผัสเกิดเป็นความเข้าใจหรือความรู้สึกภายในของบุคคล แต่อย่างไรก็ตามจะขอใช้คำว่าการรับรู้ตลอดทั้งบทต่อไป ดังนั้นกล่าวอีกอย่างคือ การรับรู้ หมายถึง “การตีความหมายใจจิตใจของบุคคลที่จะทำให้เกิดการได้รู้ได้เข้าใจ”
ดังนั้นการรับรู้ทุกครั้งที่เกิดขึ้นจะต้องมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เพื่อทำการตีความบางสิ่งบางอย่าง หรือเหตุการณ์ หรือความสัมพันธ์ในฐานะเป็นสิ่งที่สัมผัสรู้อะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องในฐานะเป็นสิ่งที่สัมผัสรู้ โดยการผ่านประสาทสัมผัส มนุษย์ทุกคนรู้ทุกสิ่งในโลกโดยผ่านเข้ามาทางประสาทสัมผัส เมื่อผู้บริโภคบอกว่า ห้างสรรพสินค้าแห่งนี้ให้ข้อเสนอที่ดีกว่าในการซื้อขาย นั่งแสดงว่าบุคคลได้บอกถึงบางสิ่งบางอย่างที่บุคคลได้สัมผัสรู้มาจากประสบการณที่ผ่านเข้ามาทางการสัมผัส วิธีการที่ผู้บริโภคคิดและกระทำจะเป็นผลมาจากการรับรู้ถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปในสิ่งแวดล้อมนั้นๆ วิธีการนี้ผู้บริโภคมีการจัดการกับข้อมูลใหม่ๆ ที่รับเข้ามาโดยการประมวลและตีความถึงสิ่งกระตุ้นที่เข้ามากระทบประสาทสัมผัสของผู้บริโภค ซึ่งก็คือ การรับรู้นั่นเอง
จากประเด็นนี้จะเห็นได้ว่า ทัศนคติ ความต้องการและแรงจูงใจต่างเป็นเงื่อนไขที่จะเกิดการรับรู้ของบุคคล การรับรู้ถึงความต้องการและแรงจูงใจทำให้มีการเปลี่ยนทัศนคติได้ และทัศนคติก็เป็นเงื่อนไขที่มีผลต่อวิธีการรับรู้ของผู้บริโภค นอกจากนี้ กลยุทธ์การซื้อของผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบที่มาจากการรับรู้ด้วย โดยบุคคลจะมีการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ วิธีการได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ และนำไปสู่การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะได้ การที่บุคคลมีการรับรู้ถึงการขาดในผลิตภัณฑ์อาจนำไปสู่การกระทำทางการตลาดได้
ฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจความหมายของการรับรู้ได้ดียิ่งขึ้น เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงสิ่งต่อไปนี้คือ (1) การรับรู้และความรู้สึกจากการสัมผัสเป็นสิ่งที่ไม่เหมือนกัน (2) การตอบสนองของผู้บริโภคมีรากฐานมาจากการรับรู้ (3) การรับรู้จะเกี่ยวข้องกับความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภค และ (4) การรับรู้ของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงได้

ความขัดแย้ง

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555ความขัดแย้ง
ความขัดแย้ง

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555ความขัดแย้งในสังคมไทยในอดีตมีมาเรื่อย ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนำที่ยุติลงด้วยการเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิ.ย.2475 หลังจากนั้นก็เกิดความขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ระหว่างรัฐไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2492-2525  ซึ่งสิ้นสุดลงด้วยนโยบายการให้อภัย ตามคำสั่งที่ 66/2523 ต่อมาก็เป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลเผด็จการกับกระแสเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชน อันก่อให้เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และพฤษภาทมิฬ 2535

แต่ความขัดแย้งที่ผ่านมายังไม่มีความรุนแรงเท่าความขัดแย้งทางการเมืองยืดเยื้อ เรื้อรังในขณะนี้ ที่เริ่มต้นเมื่อปลายปี 2548 และพัฒนามาเป็นความขัดแย้งระหว่าง “เสื้อเหลือง” กับ “เสื้อแดง” อยู่จนถึงทุกวันนี้ ความขัดแย้งยาวนานนี้ยังไม่มีใครรู้ว่าจะจบลงอย่างไร แต่ที่แน่ใจได้ก็คือ ผลกระทบของมันมีความรุนแรงมากหลายด้าน ดังนี้

1.ความขัดแย้งดังกล่าวถูกกระพือให้เป็นความขัดแย้งร้าวลึกระหว่างประชาชน ลุกลามไปทุกที่ ไม่ว่าในครอบครัว ในบรรดาเพื่อนฝูงที่ทำงาน จนแม้ระหว่างคนในภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะคนภาคเหนือและภาคอีสานฝ่ายหนึ่ง กับคนภาคใต้ ถึงขั้นที่มีการตั้งคำถามถึงเอกภาพและบูรณภาพของความเป็นชาติไทยเลยทีเดียว หากไม่สามารถระงับความรู้สึกแตกแยกรุนแรงนี้ ให้ยุติลงได้ในอนาคตอันใกล้ ก็ไม่แน่ว่าอุดมการณ์ความเป็นชาติไทยหนึ่งเดียวจะสั่นคลอนเพียงใด
2. ไม่มีความขัดแย้งครั้งใดที่เกือบทุกสถาบันหลักของประเทศถูกตั้งคำถามถึงความ ชอบธรรม และบทบาทมากที่สุด อย่างในเวลานี้ รัฐบาลพลังประชาชนประชาชนของอดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ก็ถูกคนเสื้อเหลืองประท้วงยืดเยื้อ รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะก็ถูกคนเสื้อแดงประท้วงไม่เลิก รัฐสภาก็ถูกตั้งฉายาที่แสดงให้เห็นการไม่ยอมรับ องค์กรอิสระก็ถูกท้าทายและไม่ยอมรับ ศาลซึ่งไม่เคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ก็ถูกวิพากษ์อย่างเปิดเผย สถาบันองคมนตรีซึ่งควรอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง ก็เป็นเป้าการโจมตีของคนบางกลุ่ม! วิกฤติความเป็นธรรมนี้บั่นทอนความเชื่อมั่น (Trust) ในสถาบันทั้งหลาย และอาจนำมาซึ่งความล่มสลายของประชาธิปไตยได้หากปล่อยให้ยืดเยื้อ
3.หลักนิติธรรมและความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายในบ้านเมืองถูกสั่นคลอนอย่างรุนแรงโดยรัฐเองและประชาชน การทุจริตที่ปรากฏเป็นข่าวมากมายในฝ่ายการเมืองและข้าราชการแสดงให้เห็นความไม่แยแสต่อกฎหมายของผู้มีอำนาจ ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และการที่ฝูงชนทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดงสามารถกระทำการท้าทายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายได้โดยมิได้มีอะไร เกิดขึ้น ทำให้มีการตั้งคำถามกันว่า รัฐไทยเป็นรัฐที่ล้มเหลว (Failed State) ที่ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ความรุนแรงในประเทศได้หรือไม่? ยิ่งถ้าดูเทียบกับดัชนีวัดหลักนิติธรรมของสถาบันธนาคารโลก (World Bank Institute) แล้ว ก็จะพบว่าในปี 2550 สถานะของหลักนิติธรรมในอาเซียนนั้น เราดีกว่าเพียงพม่า กัมพูชา ลาว เวียดนาม และฟิลิปปินส์เท่านั้น
4. การลุกลามของความขัดแย้งในประเทศเป็นปัญหาระหว่างประเทศของไทยกับเพื่อนบ้าน คือกัมพูชา ซึ่งถ้าไม่จัดการให้ดีก็จะกระทบกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และการเมืองระหว่างประเทศ ทั้งอาจลุกลามไปสู่ภูมิภาคก็เป็นได้

5. ผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้น ยังไม่มีสถาบันใดทำตัวเลขให้เห็นชัดสำหรับความสูญเสียดังกล่าวของประเทศไทย แต่ถ้าเทียบกับประเทศเกาหลีใต้ที่ความรุนแรงของความขัดแย้งของสังคมน้อยกว่า ไทยมาก ก็จะเห็นความน่ากลัว จากรายงานของสถาบันพัฒนาเกาหลี (Korean Development Institute) ในปี 2549 ซึ่งระบุว่ามีการเดินขบวน 11,036 ครั้ง ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจถึง 5.6 –9.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ประเทศไทยมีความรุนแรงกว่ามาก แต่ยังไม่มีใครทำตัวเลขออกมาทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นผลที่เกิดขึ้นแล้ว แต่ถ้าดูผลที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นในระยะต่อๆ ไปก็คือ ความเชื่อมั่นของสังคมโลกต่อประเทศไทย ทั้งในทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม คงถูกกระทบอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์

ความยุติธรรม

วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ความยุติธรรม

ความยุติธรรม

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

          การศึกษามีความสำคัญต่อการส่งเสริมความยุติธรรมในสังคมได้อย่างไร                ความยุติธรรมแบบปัจเจก
Imageปัญหาทุกวันนี้ คนไม่เชื่อว่าความยุติธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ที่เราต้องต่อสู้เพื่อให้ได้มา เพราะสังคมปัจจุบันให้ความสำคัญมากต่อการคำนึงถึงประโยชน์ส่วนตัว หรือสิ่งที่ตนเองพึงได้รับ มากกว่าความเห็นอกเห็นใจและการช่วยเหลือเกื้อกูล ความยุติธรรมในสังคมปัจจุบัน เป็นผลสะท้อนสังคมแบบปัจเจกนิยม เป็นความยุติธรรมแบบอัตตา เช่น จะยุติธรรมก็ต่อเมื่อฉันเป็นฝ่ายได้ก่อนคนอื่น ได้มากกว่าคนอื่น หรือจะยุติธรรม ก็ต่อเมื่อฉันเสียน้อยกว่าคนอื่น ซึ่งพอสรุปได้ว่า ความเข้าใจเรื่องความยุติธรรมแบบปัจเจกนี้ เป็นผลมาจากการศึกษา และระบบการเรียนการสอนที่ปลูกฝังเรื่องการแข่งขัน กล่าวคือ ต้องได้ดีกว่าคนอื่น ต้องเก่งกว่าคนอื่น ต้องมีความสามารถกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นการหล่อหลอมวิธีคิด และการปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตนเองก่อน คนอื่นทีหลัง

                สถานศึกษา / โรงเรียน เป็นกลไกของสังคมที่มีหน้าที่สำคัญ คือ

    1  เป็นสถาบันที่หล่อหลอมความคิด และประสบการณ์ชีวิตเข้าด้วยกัน กลายเป็นองค์ความรู้ที่สั่งสมมาตามวุฒิภาวะ อันจะเป็นพื้นฐานของการสร้างอุดมการณ์และบุคลิกภาพในชีวิต
    2  ปลูกฝังคุณธรรม สร้างมโนธรรม อบรมบ่มนิสัยและขัดเกลาชีวิตของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีจริยธรรม มีความสุข มีความสำนึกดีต่อผู้อื่น ต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสังคม ยืนหยัดอยู่บนความถูกต้องและเคารพในศักดิ์ศรี และความต่างของกันและกัน
    3  สร้างบรรยากาศแห่งการอยู่ร่วมกันฉันพี่น้องในครอบครัวเดียวกัน มีความอบอุ่น มีความรัก ความเอื้ออาทร เห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือผู้อื่น และร่วมกันพัฒนาศักยภาพและบุคลิกภาพของผู้เรียนและบุคลากรในสถานศึกษา
   4  สถานศึกษา / โรงเรียนคาทอลิก จึงเป็นกระบวนการหล่อหลอมชีวิตมุ่งสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งถือเป็นพันธกิจสำคัญในการร่วมงานกับพระเจ้า พระผู้สร้างในงานเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนตามวัยและวุฒิภาวะ